สวนป่าจังหวัดเชียงใหม่
รายละเอียดโครงการ












พื้นที่สวนป่าในจังหวัดเชียงใหม่อยู่ในพื้นที่เขตองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เขตเชียงใหม่ มีทั้งสิ้น 11 สวนป่า ได้แก่
1. โครงการปลูกสร้างสวนป่าสะเมิง ต.สะเมิงเหนือ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ : ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 อำเภอ สะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ มีพื้นที่ทั้งหมด 842.37 ไร่ ลักษณะของพืชพรรณเป็นสวนป่าสัก สภาพพื้นที่เป็นที่ราบสลับเนินเขา
2. สวนป่าโครงการป่าแม่หาด ต.ดอยเต่า อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ : มีพื้นที่ทั้งหมด 537.26 ไร่ สภาพภูมิประเทศของอำเภอดอยเต่าโดยทั่วไปเป็นภูเขาเตี้ยและเนินสูงสลับกัน ประกอบด้วยหุบเขาและลำห้วย พื้นที่ อำเภอดอยเต่า ตั้งอยู่ในลุ่มน้ำแม่หาด ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาฝั่งซ้ายของลำน้ำปิง และมีลำน้ำย่อยหลายสายซึ่งจะตั้งอยู่เหนือเขื่อนภูมิพล บางแห่งมีการ ทำลายป่าไม้พื้นที่ต้นน้ำ เป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งและเกิดอุทกภัยในฤดูฝน
3. สวนป่าเชียงดาว ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ : ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าเชียงดาว มีพื้นที่ทั้งหมด 530.95 ไร่ สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 470 เมตร มี ลักษณะสวนป่าเป็นป่าเบญจพรรณ มีทางน้ำธรรมชาติที่สำคัญไหลผ่านหลายสาย โดยมีต้นกำเนิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอเชียงดาว ซึ่งประชาชน สามารถใช้ประโยชน์ในการอุปโภคและเพื่อการเกษตรกรรม
4. สวนป่าไชยปราการ ต.แม่ทะลบ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่ : ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำฝาง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 780 เมตร มีพื้นที่ทั้งหมด 8,797.30 ไร่ ลักษณะพืชพรรณเป็นสวนป่าสัก สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงสลับซับซ้อน มีที่ราบตามข้างหุบเขาและระหว่างภูเขา มีทางน้ำธรรมชาติไหลผ่านสามารถใช้ประโยชน์เพื่ออุปโภคและ การเกษตรกรรม
5. สวนป่าบ้านหลวง ต.บ้านหลวง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ : ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติลุ่มน้ำฝาง มีพื้นที่ทั้งหมด 698.37 ไร่ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 620 เมตร ลักษณะพืชพรรณเป็นสวนป่าสัก สภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับที่ราบ มีทางน้ําธรรมชาติที่สําคัญไหลผ่าน คือ ห้วยแม่นาวาง โดย มีการนําน้ําไปใช้เพื่อการเกษตรตลอดท้ังปี และ สามารถทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง
6. สวนป่าปางไม้แดง ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ : มีเนื้อที่ทั้งหมด 362.75 ไร่ สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงและที่ราบเชิงเขา แหล่งน้ำมีลำน้ำแม่ก๊ะ ลำน้ำแม่มาด และห้วยนาเลาเป็นลำน้ำสายหลัก
7. สวนป่าแม่แจ่ม ต.กองแขก อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ : ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่ม มีพื้นที่ทั้งหมด 305.59 ไร่ ลักษณะพืชพรรณเป็นสวนป่าสักและพื้นที่อนุรักษ์ ซึ่งมีลักษณะเป็นป่าเบญจพรรณ สภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาและที่ราบเชิงเขา มีทางน้ำธรรมชาติที่สําคัญไหลผ่าน คือ แม่น้ำแม่แจ่ม สามารถใช้น้ําได้ดีในทุกฤดู
8. สวนป่าแม่ใจ แม่อาย ต.แม่สาว อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ : ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง มีพื้นที่โครงการทั้งหมด 620.05 ไร่ มีลักษณะพืชพรรณเป็นสวนป่าสัก อีกทั้งมีสภาพภูมิประเทศเป็น ภูเขาสูงสลับเตี้ยและเนินสูงสลับกับที่ราบ แหล่งน้ำที่สำคัญ คือ อ่างเก็บน้ำแม่แหลงหลวง ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปา
9. สวนป่าแม่หลักหมื่น ต.บ้านหลวง อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่ : ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าลุ่มน้ำแม่ฝาง มีเนื้อที่ทั้งหมด 254.94 ไร่ อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 500-600 เมตร ลักษณะพืชพรรณเป็น สวนป่าสัก โดยมีสภาพภูมิประเทศเป็นภูเขาสลับที่ราบ มีทางน้ำธรรมชาติที่สำคัญไหลผ่านพื้นที่ คือ ห้วยแม่วางน้อย
10. สวนป่าหลวงสันกําแพง ต.แม่ทาเหนือ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ : มีพื้นที่ทั้งหมด 3,511.72 ไร่ ภูมิประเทศเป็นที่ราบระหว่างหุบเขา อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 520 เมตร ลักษณะพืชพรรรในพื้นที่ ได้แก่ ไม้สัก ไม้สนสามใบและไม้ยูคาลิปตัส แหล่งน้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำทา ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากยอดเขาในเขตบ้านขุนทา และมีอ่างเก็บน้ำ 4 แห่ง
11. สวนป่าดอยบ่อหลวง ต.บ่อหลวง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ : ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติขุนแม่ลาย มีพื้นที่ทั้งหมด 7,423.19 ไร่ มีสวนป่าสนสามใบเป็นพืชพรรณหลักที่พบในพื้นที่
การดำเนินกิจกรรมของโครงการสอดคล้องกับกิจกรรมที่เข้าข่ายตามที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือน กระจก (องค์การมหาชน) กำหนดไว้ใน T-VER-S-METH-13-03 มีการจัดการอย่างถูกวิธี ได้แก่ การทำแนวกันไฟให้กว้างขึ้น การลิดกิ่งเพื่อปรับปรุงคุณภาพของลำต้น การตัดขยายระยะ และการลาดตระเวนเพื่อป้องกันและรักษาป่าจากผู้บุกรุก
หมายเหตุ : พื้นที่โครงการจะไม่มีการตัดไม้ออกจากพื้นที่ตลอดระยะเวลา 10 ปีของโครงการ
เรียนรู้เพิ่มเติม
มาตรฐานคาร์บอนเครดิต

ผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ
2,388,449 ต้น
จำนวนต้นไม้ที่ได้รับการปลูก
2,599,803
ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการดำเนินโครงการ
เจ้าของโครงการ
4 มีนาคม 2023 - 3 มีนาคม 2033
ระยะเวลาคิดเครดิตของโครงการ
-
ปีที่เกิดกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก และ รับรองคาร์บอนเครดิต



