สวนป่าจังหวัดแม่ฮ่องสอน

 

รายละเอียดโครงการ

พื้นที่สวนป่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอนอยู่ในพื้นที่เขตองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้เขตเชียงใหม่ มีทั้งสิ้น 3 สวนป่า ได้แก่

1. สวนป่าแม่อุมลอง ต.แม่ลาน้อย อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน :                                                                                                                                      ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ยวมฝั่งซ้ายและแม่ยวมฝั่งขวา มีพื้นที่ทั้งหมด 5,197.36 ไร่ ลักษณะพืชพรรณเป็นสวนป่าสัก นอกจากนี้เเล้วสวนป่า      มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงชัน มีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 300 เมตร และมีพายุฤดูร้อนบางช่วง

 

2. สวนป่าแม่อูคอ ต.ห้วยผา อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน :                                                                                                                                                      ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าไม้ปายฝั่งขวาตอนล่าง มีพื้นที่ทั้งหมด 1,995.14 ไร่ มีลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงชัน  และ ป่าไม้มีความ      อุดมสมบูรณ์  โดย ลักษณะพืชพรรณเป็นไม้สัก, ยูคาลิปตัส และ สนสามใบ ทั้งนี้สวนป่าเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารลำห้วยต่าง ๆ หลายสายในบริเวณพื้นที่

 

3. สวนป่าสาละวิน ต.ป่าแป๋ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน :                                                                                                                                                มีพื้นที่ทั้งหมด 4,464.60 ไร่ สวนป่าสะละวินมีพื้นที่กระจัดกระจายอยู่ใน 4 ตำบล และมีลักษณะพืชพรรณเป็นไม้สักทั้งหมด

 

การดำเนินกิจกรรมของโครงการสอดคล้องกับกิจกรรมที่เข้าข่ายตามที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือน กระจก (องค์การมหาชน) ที่ได้มีระบุกำหนดไว้ใน T-VER-S-METH-13-03 มีการจัดการอย่างถูกวิธี ได้แก่ การทำแนวกันไฟให้กว้างขึ้น การลิดกิ่งเพื่อปรับปรุงคุณภาพของลำต้น การตัดขยายระยะ และการลาดตระเวนเพื่อป้องกันและรักษาป่าจากผู้บุกรุก

หมายเหตุ : พื้นที่โครงการจะไม่มีการตัดไม้ออกจากพื้นที่ตลอดระยะเวลา 10 ปีของโครงการ

 

เรียนรู้เพิ่มเติม

https://ghgreduction.tgo.or.th/th/tver-database-and-statistics/t-ver-registered-project/item/4373-carbon-storage-in-the-forest-industry-organization-fio-plantation-phase-ii.html

tver
มาตรฐานคาร์บอนเครดิต

Project participant
 
ผู้พัฒนาโครงการ

Bureau

ผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ

 

1,165,710 ต้น

 

จำนวนต้นไม้ที่ได้รับการปลูก

 

 

  2,599,803

 

 

 

ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการดำเนินโครงการ

fio_logo_color_1

 

เจ้าของโครงการ

 

4 มีนาคม 2023 - 3 มีนาคม 2033

 

 

ระยะเวลาคิดเครดิตของโครงการ

 

 

-

 

 

 

ปีที่เกิดกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก และ รับรองคาร์บอนเครดิต