สวนป่าวังชิ้น
สวนป่าแม่ยม-แม่แปง
วังชิ้น, แพร่
รายละเอียดโครงการ

สวนป่าวังชิ้น และสวนป่าแม่ยม-แม่แปงมีพื้นที่ทั้งหมด 7,138.82 ไร่ เเละ มีพื้นที่อยู่ในจังหวัดเเพร่ ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติแม่ยมตะวันออก เป็นสวนป่าระยะที่ 1 โครงการ 2 ดำนินการปลูกสร้างสวน ในปีพ.ศ. 2521 มีลักษณะการทำโครงการเเบบ T-VER-METH-FOR-03 ทั้งนี้ในสวนป่ามีหมู่บ้านซึ่งมีสมาชิกครัวเรือนรวมที่มีประชากร จำนวน 345 คน โดย ลักษณะพื้นที่ทั่วไปจะเป็นภูเขาสลับลำห้วยมีความลาดชันปานกลางถึงมากและมีปริมาณฝนตกชุกตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมและช่วงแล้งตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมีนาคมสภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปของพื้นที่มีลักษณะภูมิอากาศร้อนชื้น ในฤดูร้อนอากาศจะร้อนจัดและค่อนข้างหนาว ในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ย 32 องศา พื้นที่สวนป่าวังชิ้น และ สวนป่าแม่ยม-แม่แปง สภาพป่าเป็นป่าดิบแล้ง เดิมประกอบไปด้วยป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง ชนิดไม้ที่พบส่วนมากจึงเป็นไม้เด่นในป่าเบญจพรรณ ได้แก่ ไม้สัก ประดู่แดง และมะค่าโมง
การดำเนินงานการบริหารจัดการสวนป่าวังชิ้น เเละ สวนป่าเเม่ยม-แม่แปง
สวนป่าวังชิ้นและสวนป่าแม่ยม-แม่แปง มีนโบายให้มีการจัดการสวนป่าอย่างยั่งยืนตามแนว FSC โดย เริ่มเมื่อ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ซึ่งกำหนดให้มีการจัดการทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนี้
ด้านสิ่งแวดล้อม
โครงการของเรามีความพยายามหลีกเลี่ยงทุกๆกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อทรัพยากรธรรมชาติของโครงการ โดย ได้มีการจัดทำมาตรการสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่ เพราะ ลำน้ำต่างๆรวมถึงเเม่น้ำมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการอนุรัษ์ระบบนิเวศน์ เเละ การฟื้นฟูของผืนป่า นอกจากนี้ยังมีการอนุรักษ์พันธุ์พืช เเละ สัตว์ป่าโดยมีการห้ามล่าสัตว์ป่าทุกชนิด อีกทั้งมีการเก็บพันธุ์ไม้ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์เพื่อจุดประสงค์ในการนำมาเพาะพันธุ์ต่อ
ด้านสังคม
โครงการได้มีการสร้าง และ พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อให้เกิดการปลูกฝังจิตสำนึกในการรักษ์ป่าและดูแลป่าให้กลุ่มเยาวชนรวมถึงชาวบ้านในพื้นที่ ทั้งนี้มีการสนับสนุนสาธารณูปโภคพื้นฐานแก่ชุมชน เช่น การซ่อมแซมถนนในชุมชน การบริการเครื่องปั๊มน้ำสำหรับชาวบ้าน
ด้านเศรษฐกิจ
เราได้มีการการสร้างงานให้กับชุมชนในพื้นที่ระหว่างการดำเนินกิจกรรมปลูกป่า อีกทั้งมีการจ้างงานชาวบ้านเพื่อดูเเลรักษาผืนป่าให้อยู่ในระดับมีมาตรฐานที่ดี โดยจะมีการจัดจ้างงานให้กับคนในท้องถิ่นที่อยู่ใกล้เคียงกับสวนป่าเป็นอันดับแรกเพื่อจุดประสงค์ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
การปิดความเสี่ยงภายในพื้นที่
1)ความเสี่ยงจากการเกิดไฟป่า โดยได้มีการทำแนวกันไฟเพื่อหยุดยั้งไฟป่าหรือเพื่อเป็นแนวตรวจตราไฟอยู่เป็นประจำเพื่อลดโอกาสในการเกิดไฟป่า
2)ความเสี่ยงจากการลักลอบตัดไม้ ได้มีการลาดตระเวนป้องกันรักษาป่าอย่างสม่ำเสมอโดยทีมงานตรวจป่าของสวนป่า
3) ความเสี่ยงจากการบุกรุกพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่อยู่ใกล้พื้นที่ของชาวบ้าน ซึ่งมีความเสี่ยงที่จะเกิดการบุกรุก ดังนั้นทางสวนป่าจึงมีการจัดชุดลาดตระเวน หากพบแนวโน้มที่จะมีการบุกรุกจะมีดำเนินการแจ้งผู้บุกรุก หรือมีการประชุมร่วมกันกับชาวบ้านเพื่อทำความเข้าใจในเรื่องขอบเขตพื้นที่
เรียนรู้เพิ่มเติม
มาตรฐานคาร์บอนเครดิต

ผู้ประเมินภายนอกสำหรับโครงการภาคสมัครใจ
713,882 ต้น
จำนวนต้นไม้ที่ได้รับการปลูก
232,900
ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากการดำเนินโครงการ (ตันคาร์บอน)
เจ้าของโครงการ
1 กรกฎาคม 2016 - 30 มิถุนายน 2036
ระยะเวลาคิดเครดิตของโครงการ
2023
ปีที่เกิดกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก และ รับรองคาร์บอนเครดิต
|
|





